สถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 ในปี 2566 รุนแรงกว่าปีนี้ กรมอนามัยเตือนสวมหน้ากาก 2 ชั้น
สถานการณ์เรื่องมลพิษทางอากาศและความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากข้อมูลกรมอนามัย พบว่า ในแต่ละปีมีประชาชนเสียชีวิตประมาณ 7 ล้านคน โดยแหล่งกำเนิดมลพิษ ได้แก่ การเผาในที่โล่ง การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าใช้ฟอกซิลในการผลิต อุตสาหกรรม Hazard ที่ยังเกินมาตรฐาน PM10 PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic Compounds : VOCs) ในพื้นที่อุตสาหกรรม
ขณะที่ พื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ พบว่า พื้นที่ PM2.5 และ PM10 มีทั้งหมด 46 จังหวัด พื้นที่อุตสาหกรรม/โรงไฟฟ้า/เหมืองโพแตช 11 จังหวัด
โดย 56 ล้านคน อยู่ในพื้นที่มลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐานและมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ และ 22 ล้านคน เป็นกลุ่มเสี่ยง แบ่งเป็น ผู้สูงอายุ 41% เด็กเล็ก 39% กลุ่มที่มีโรคประจำตัว 19% และหญิงตั้งครรภ์ 1%
สำหรับความท้าทายที่เกิดขึ้น ด้วยอุตสาหกรรมและความเป็นเมืองมากขึ้น อาจทำให้มลพิษเพิ่มขึ้น กลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยเฉพาะผู้สูงอายุมากขึ้น โอกาสการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายด้วยสุขภาพเพิ่มมากขึ้น มีการปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มข้นมากขึ้น
ทั้งนี้ สำหรับผลอนามัยโพล “คนไทยรับมือกับฝุ่นอย่างไร” ซึ่งเป็นผลสำรวจระหว่างวันที่ 25 พ.ย.ถึง 18 ธ.ค.2565 มีจำนวนผู้ตอบ 2,392 ราย พบว่า
68.9% ของคนไทยมีความกังวลต่อปัญหา PM2.5
52.4% ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาว
44.5% ทำให้โรคประจำตัวมีอาการรุนแรงมากขึ้น
25.1% ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันฝุ่น
18.3% ไม่รู้วิธีป้องกันอันตรายจากฝุ่น
10.1% กังวลเรื่องอื่นๆ เช่น โรคที่เกิดจากPM2.5 โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่มีความรุนแรงและส่งผลให้เกิดโรคอุบัติใหม่มากขึ้น ความไม่มั่นใจต่อปริมาณฝุ่นในอากาศเนื่องจากไม่สามารถมองเห็นได้ เป็นต้น
อัพเดทข่าวทันโลกข่าวต่างประเทศ มาใหม่ แนะนำข่าวเพิ่มเติม : ฟินแลนด์ สวีเดน ประกาศเข้าร่วมสมาชิกนาโต รัสเชียจะตอบโต้อย่างไร?